แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล

แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล หรือ องค์การนิรโทษกรรมสากล[1] (อังกฤษ: Amnesty International หรือ Amnesty หรือ AI) เป็นองค์การพัฒนาเอกชนที่มีจุดประสงค์ "ในการค้นคว้าและดำเนินการป้องกันและยุติการทำร้ายสิทธิมนุษยชน และเพื่อแสวงหาความยุติธรรมสำหรับผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ"[2]แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ก่อตั้งขึ้นที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เมื่อปี ค.ศ. 1961จากเหตุการณ์ที่นักศึกษาชาวโปรตุเกส 2 คน ชูแก้วของตนเองขึ้นดื่มเพื่ออวยพรแก่เสรีภาพ จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ทั้งสองโดนจำคุกนานกว่า 7 ปี เหตุการณ์นั้นทำให้ ปีเตอร์ เบนเนสัน (Peter Benenson) นักกฎหมายชาวอังกฤษ ถึงกับทนไม่ไหว จึงตัสินใจดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง [2]ปีเตอร์ เบเนนสันได้เขียนจดหมายถึงหนังสือพิมพ์อังกฤษ “The Observer” เรียกร้องให้มีการรณรงค์สากลเพื่อปกป้อง “นักโทษที่ถูกลืม” ซึ่งแนวคิดของเขา คือการกระตุ้นให้ประชาชนระดมกำลังกันส่งจดหมายประท้วงต่อผู้มีอำนาจทั่วโลก ในวันที่ 28 พฤษภาคม ค.ศ.1961 หนังสือพิมพ์ได้ตีพิมพ์บทความพิเศษเรื่องนักโทษผู้ถูกลืม ซึ่งเป็นการเริ่มการรณรงค์อันยาวนานเป็นปีของปีเตอร์ เบเนนสัน - คำอุทธรณ์เพื่อนิรโทษกรรมปี ค.ศ.1961 “นักโทษที่ถูกลืม” ได้เรียกร้องให้ผู้คนทั่วทุกหนทุกแห่ง ประท้วงโดยสงบและปราศจากอคติ ต่อการคุมขังชายและหญิงทั่วโลก อันเนื่องมาจากความเชื่อทางการเมืองหรือศาสนาของพวกเขา บทความพิเศษได้กล่าวถึงผู้ถูกคุมขังว่าเป็น นักโทษทางความคิด ซึ่งถือว่าเป็นวลีใหม่ของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโลก บทความชิ้นนั้นได้รับการตอบรับอย่างมหาศาล ภายในช่วงเวลาหนึ่งเดือน มีผู้อ่านมากกว่าพันคนส่งจดหมายมาสนับสนุนและเสนอความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม พวกเขายังส่งรายละเอียดของนักโทษทางความคิด มาเพิ่มเติมอีกมากมายหลายกรณีภายในช่วงเวลาเพียงหกเดือน ความพยายามเผยแพร่ข่าวสารที่เริ่มต้นเพียงสั้นๆ นั้น ได้พัฒนาเป็นกระบวนการเคลื่อนไหวระดับสากลอย่างถาวร และภายในหนึ่งปี องค์กรใหม่ก็ได้ส่งผู้แทนไปยังสี่ประเทศ เพื่อทำหน้าที่ในฐานะตัวแทนของนักโทษ รวมทั้งได้นำคดีอีก 210 กรณีมารับไว้เพื่อพิจารณาช่วยเหลืออีกด้วย ในขณะนั้นได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติขึ้นใน 7 ประเทศในขณะเดียวกัน หลักการอันปราศจากอคติและความเป็นอิสระก็ได้มีการกำหนดไว้ตั้งแต่เริ่มแรก โดยเน้นการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในระดับสากล: นั่นคือประชาชนทั่วโลกจะรณรงค์เพื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในที่ใดก็ได้ในโลก ขณะที่แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลเติบโตขึ้น การมุ่งเน้นก็จะขยายขอบเขตออกไป โดยไม่เพียงแต่รับเรื่องนักโทษทางความคิดเท่านั้น แต่ยังพุ่งเป้าไปยังเหยื่อซึ่งถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนทั่วโลก เช่น การถูกทรมาน การสูญหายของบุคคล และโทษประหารชีวิตแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพสำหรับการรณรงค์ต่อต้านการทรมานโดยเจ้าหน้าที่รัฐ[3] และรางวัลองค์การสหประชาชาติสาขาสิทธิมนุษยชน (United Nations Prize in the Field of Human Rights) ในปี ค.ศ. 1978[4]ทุกวันนี้ แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล มีสมาชิกและผู้สนับสนุนมากกว่า 7 ล้านคนในกว่า 150 ประเทศและดินแดน ซึ่งทุกคนได้รวมพลังกันเพื่อที่จะทำให้โลกนี้เป็นสถานที่ซึ่งทุกคนมีสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนในท้องถิ่น กลุ่มเยาวชนและนักเรียนนักศึกษา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ สมาชิกรายบุคคล และผู้ประสานงานอีกหลายพันกลุ่ม อยู่ในกว่า 100 ประเทศและเขตการปกครองนอกจากนี้ยังมีสำนักงาน (Section/Structure) ที่จัดตั้งในระดับชาติขึ้นในพื้นที่มากกว่า 70 ประเทศ และในประเทศต่างๆ อีกกว่า 20 ประเทศยังมีการจัดตั้งองค์กรประสานงานอื่นๆ (coordinating structures) อีกด้วย แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลยังเป็นองค์กรที่ได้รับการยอมรับและให้ความเชื่อถือ โดยองค์กรฯ จัดส่งผู้แทนไปพบรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การสหประชาชาติ และมีส่วนร่วมในการอภิปรายในประเด็นสิทธิมนุษยชนระดับนานาชาติ